วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

UNIT 1 – Big Changes
Simple present

โครงสร้าง
S + V1 (ประธานเอกพจน์ กริยาเติม s,es)
ประธาน + กริยาช่องที่ 1 (ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ กริยาต้องเติม s หรือ es แล้วแต่กรณี)
กริยาช่วยที่ใช้บ่อยคือ can, should, must
Tense นี้ค่อนข้างจะยุ่งยากนิดหน่อยตรงที่ประธานเอกพจน์ต้องเติม s ส่วนประธานพหูพจน์ไม่ต้องเติม สิ่งที่จะสร้างความยุ่งยากนิดหนึ่งคือการเติม s เพราะกริยาบางตัวต้องเติม es ไม่ใช่แค่ s เฉยๆ แต่ไม่ใช่เรื่องยากถ้าได้ศึกษาการเติม s ที่ท้ายคำนามเพื่อให้นามนั้นเป็นพหูพจน์
หลักการใช้


1. จริง คือ ข้อเท็จจริงทั่วไป ซึ่งเป็นการบอกกล่าว เล่า ถามเรื่องราว เหตุการที่เป็นข้อเท็จริงทั่วๆไป (facts) และข้อมูลข่าวสาร (information) ถ้าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคนจะเป็นข้อมูลบอกให้รู้ว่าเขาเป็นใคร มาจากไหน มีอาชีพอะไร ชอบอะไร...อ่านเพิ่มเติม

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 


Simple past versus present perfect



ก. Present Perfect
กริยาช่วย have / has
กริยาแท้ past participle (หรือ Verb ช่อง 3)
have/has + past participle
ข. Past Simple
กริยาช่วยช่อง 2/กริยาแท้ช่อง 2
ต่อไปนี้ จะขอกล่าวเชิงเปรียบเทียบการใช้ระหว่าง Past Perfect และ Past Simple เพื่อท่านผู้อ่านจะได้สามารถแยกแยะความแตกต่างได้โดยชัดเจน
1. การกระทำที่เริ่มเกิดขึ้นในอดีตและดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน (an activity which started in the past and continues up to the present) กับการกระทำที่เริ่มและจบสิ้นในอดีต (an activity which started and finished in the past)
ตัวอย่าง
I have lived in Bangkok for ten years.
ผมอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ มาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว (ตอนนี้ก็ยังอาศัยอยู่)
I lived in Bangkok for 10 years.
ผมได้อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ 10 ปี(ตอนนี้ไม่ได้อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ แล้ว)
อธิบาย ในตัวอย่างที่ 1 เป็นการกล่าวถึงการกระทำที่เริ่มขึ้นในอดีตและ ดำเนินมาจนถึงปัจจุบันครบ 10 ปีแล้ว ขณะนี้ก็ยังอยู่ ยังมิได้ย้ายไปไหนจึงใช้ Present Perfect ส่วนในประโยคที่ 2 เป็นการกล่าวถึงการกระทำที่เริ่มต้นและจบสิ้นไปแล้วในอดีต ตอนนี้ย้ายไปอยู่ที่อื่นแล้ว จึงใช้ Past Simple
2. ผลของการกระทำในอดีตที่เกี่ยวเนื่องถึงปัจจุบัน (the result of a past action that is connected to the present)
UNIT 2 – Careers
Present perfect continuous versus present perfect

Present perfect continuous
โครงสร้าง  S + has /have + been + V+ing
หลักการใช้
          1. ใช้กับเหตุหารณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และยังคงดำเนินต่อไป ใช้กับคำว่า since และ for ส่วนมากมักจะใช้กับ verb ที่มีความหมายเป็นการกระทำที่นาน (long action) เช่น learn , lie , stay , sit , stand , study , sleep, rest , read , work , wait , play , etc. ต่างกับ present perfect ก็ตรงที่ใช้เน้นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน และอาจจะดำเนินต่อไปในอนาคต
               - We have been living here since 1987.
               = We came here in the past and we are still living here now.
               - She's been waiting for a long time.
หมายเหตุ   เหตุการณ์ ทั้งหลายเหล่านี้ยังไม่เสร็จสิ้นลง
          2. ใช้กับเหตุการณ์ซึ่งได้เกิดขึ้นและผ่านพ้นไปแล้ว แต่ยังคงทิ้งร่องรอยให้เห็นได้ในขณะที่พูด เช่น
                - The workmen have been digging up the raod and now the traffic cannot pass.
                - What have you been eating? Your lips and chin are purple.
                - We have been driving along muddy roads and now the car is...อ่านเพิ่มเติม
UNIT 3 – What Will Be,Will Be
Future with will or be going to

  
Subject + will/ shall + Verb ช่องที่ 1
Future Simple Tense แสดงถึงอนาคตกาล คือ ทั้งที่ยังไม่เกิดขึ้น คำว่า Future (อนาคต) ก็คือ สิ่งที่ยังไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือเปล่า ด้วยความไม่แน่นอนนี่เอง รูปของFuture จึงมีหลายรูปด้วยกัน โดยจะบอกถึงโอกาสของการเกิดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะคุ้นกับรูป Will, Shall ว่าเป็น Future แต่จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายรูปหลาย Tense ที่ให้ความหมายเป็น Future ได้เหมือนกับ Will, Shall ดังนี้
1) รูป future ที่ใช้ will, shall
     2) รูป future ที่ใช้ present simple
     3) รูป future ที่ใช้ present continuous
     4) รูป future ที่ใช้ be going to
     5) รูป future ที่ใช้ future perfect
     6) รูป future ที่ใช้ future perfect continuous
     7) รูป future ที่ใช้ future continuous
ทั้ง 7 รูปข้างต้นนี้ล้วนแต่ให้ความหมายเป็นอนาคตได้ทั้งนั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะนำรูปทั้งหมดนั้นมาใช้ในรูป future เพียงอย่างเดียว ที่บอกว่าเป็นอนาคตได้นั้นหมายเอาในบางแง่ที่สามารถนำมาใช้ในรูปอนาคตได้แต่ที่เป็นอนาคตตลอดเวลาได้ก็มีรูป will, shall และ be going to + v เท่านั้น ขอให้ศึกษาวิธีการใช้จากกฎเกณฑ์และตัวอย่างต่อไปนี้แล้วจะรู้ว่า ภาษอังกฤษไม่ยากอย่างที่คิด
           โครงสร้าง: S + will / shall + v.1
     will / shall ใช้เป็นกริยาช่วยเสมอ (เป็น modal auxiliary verb) กริยาแท้ที่ตามหลังwill shall จะเป็นกริยาช่องที่ 1 เสมอไม่ว่าประธานจะเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ตาม เช่น
       Please wait here. I will be back soon.
       กรุณารอที่นี่นะ ผมจะกลับมาเร็วๆนี้ (will ใช้ได้กับประธานทุกตัว ส่วน shall จะใช้กับประธาน I และ We โดยกริยาหลัง Will / Shall จะเป็นช่องที่ 1 เสมอ ประโยคข้างบนมี be เป็นกริยาแท้)
การใช้ Future Simple Tense...อ่านเพิ่มเติม

 - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -   

Future progressive

หลักการใช้
ใช้กล่าวถึงเหตุการที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต หมายความว่า ณ ช่วงเวลาหนึ่งในอนาคต ฉันกำลังทำอะไรบางอย่างอยู่นะ ซึ่งนานๆ นานมากกว่าจะได้พูดทีหนึ่ง ในที่นีขอยกตัวอย่างมาให้ดู  2 แบบนะครับ คือ มีเหตุการณ์เดียว และมีสองเหตุการณ์เกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน
1.แบบมีเหตุการณ์เดียว  ส่วนมากจะระบุเวลาในอนาคตด้วย เช่น
I will be reading books at 8 o’clock tomorrow.
ฉันจะกำลังอ่านหนังสือเวลา 8 นาฬิกา วันพรุ่งนี้
หมายความว่า พรุ่งนี้เวลา 8 นาฬิกา ฉันกำลังอ่านหนัสืออยู่นะ ไม่เชื่อรอดูก็จะเห็น
At nine o’clock tomorrow, we will be working on farm.
พรุ่งนี้เวลา 9 นาฬิกา พวกเราจะกำลังทำงานในฟาร์ม
หมายความว่า พรุ่งนี้ตอนเช้า ถ้าคุณมาฟาร์มของเรา คุณก็จะเห็นพวกเรากำลังทำงานอยู่
2. แบบมีสองเหตุการณ์ ดู Time Line  (เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นใช้ Future Continuous อีกเหตุการณ์หนึ่งใช้ Present Simple)
She will be waiting when you arrive.
หล่อนจะกำลังรอคอย เมื่อคุณมาถึง
หมายความว่า เมื่อคุณมาถึง คุณก็จะเห็นหล่อนกำลังรอคอยอยู่
I will be sleeping when my mom gets home.
ฉันจะกำลังนอนหลับอยู่ ตอนที่แม่มาถึง
หมายความว่า คืนนี้เมื่อแม่มาถึง ฉันก็กำลังนอนหลับอยู่บนเตียง
ความแตกต่างระหว่าง Future Simple กับ Future Continuous
I will watch TV tomorow morning. ฉันจะดูทีวีพรุ่งนี้เช้า
I will be watching TV tomorrow morning. ฉันจะกำลังดูทีวีพรุ่งนี้เช้า
อะไรคือความแตกต่าง คิดออกกันไหมเอ่ย ความแตกต่างคือ การกระทำที่จะเกิดขึ้น
ประโยคแรกเป็นแค่…อ่านเพิ่มเติม
UNIT 4 – The Art of Advertising
The passive
หลักการใช้
ประโยค (Sentence) คือข้อความที่เอ่ยมาแล้วเข้าใจได้กระจ่างชัดว่า ประธาน แสดง กริยา อะไร เมื่อใด ถ้ากริยานั้นต้องมีกรรม (Transitive Verb) ก็ต้องมีกรรมระบุในประโยคด้วย เช่น
เขา เดิน
He walked
เขา เป็นประธาน (Subject)
เดิน เป็นกริยาไม่ต้องการกรรม (Intransitive Verb) เป็นอดีตกาล (Past tense)
เรา กิน มันฝรั่ง
We eat potatoes
เรา เป็นประธาน (Subject)
กิน เป็นกริยาต้องมีกรรม (Transitive Verb) เป็นปัจจุบันกาล (Present Tense)
ทั้ง 2 ประโยคข้างต้นนี้ มีประธานเป็นผู้กระทำทั้งสิ้น (แต่จะอยู่ในรูป tenseอย่างใด ก็สุดแท้แต่เวลาที่ต้องการบ่งชี้) เราเรียกโครงสร้างของประโยคชนิดนี้ว่า กรรตุวาจก (Active Voice) ลองสังเกตประโยคต่อไปนี้ดูบ้าง
Mangoes are eaten
มะม่วง ถูกกิน
มะม่วง เป็นประธาน (Subject)
ถูกกิน เป็นกริยา (Present Tense)
ประธานของประโยคคือ Apples ไม่ได้ทำกริยา กิน แต่ในทางตรงกันข้าม ประธานกลับเป็นฝ่ายถูกกระทำ
The letter was read yesterday
จดหมาย ถูกอ่าน เมื่อวานนี้
จดหมาย เป็นประธาน (Subject)
ถูกอ่าน เป็นกริยา (Past Tense)
ในทำนองเดียวกันกับประโยคแรก จดหมายซึ่งเป็นประธานของประโยคไม่ได้ เป็นผู้อ่าน แต่กลับเป็นสิ่งที่ถูกอ่านโดยประธาน ทั้ง 2 ประโยคหลังนี้ มีประธานเป็นผู้ถูกกระทำ โครงสร้างเช่นนี้เรียกว่า กรรมวาจก (Passive Voice)

วิธีการแปลประโยค passive ให้เป็นภาษาไทย...อ่านเพิ่มเติม

  - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

Comparatives and superlatives


หลักการใช้ที่สำคัญประการหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคำคุณศัพท์ก็คือ comparisonหรือในภาษาไทยเรียกว่า “การเปรียบเทียบ” สามารถจำแนกได้ 2 ระดับคือ
1. Comparative adjectives
2. Superlative adjectives
Comparative adjectives (คอมแพราทิฟวฺ แอ็ดเจ็กทิฟสฺ) หมายถึง “คุณศัพท์ขั้นกว่า” แสดงความหมายว่า มากกว่า/น้อยกว่า ส่วน Superlative adjectives (ซูเพอลาทิฟวฺ แอ็ดเจ็กทิฟสฺ) หมายถึง “คุณศัพท์ขั้นสุด” แสดงความหมายมากที่สุด/น้อยที่สุด คุณศัพท์ทั้งสองแบบนี้พอจะสรุปรูปของคำได้ดังนี้
1. คุณศัพท์พยางค์เดียว (one-syllable adjectives)
เมื่อต้องการเปลี่ยนรูปของคำคุณศัพท์ประเภทนี้ให้เป็น comparative adjectives และ superlative adjectives ให้เติม -er และ -est ท้ายคำคุณศัพท์นั้นตามลำดับ เช่น
Adjectives         Comparative         Superlative
small                           smaller                             smallest
cheap                          cheaper                           cheapest
young                         younger                           youngest
long                             longer                               longest
big                                bigger                               biggest
high                             higher                               highest
low                               lower                                lowest
short                           shorter                             shortest
dim                              dimmer                            dimmest
glad                             gladder                             gladdest
fair                              fairer                                 fairest
ตัวอย่าง
Mount Manaslu is the lowest mountain.
ภูเขามานาสลูเป็นภูเขาที่ต่ำที่สุด
Mount Kangchenjunga is higher than Mount Manaslu.
ภูเขากังเจนจังก้าสูงกว่าภูเขามานาสลู
Mount Kangchenjunga is higher than Mount Manaslu, but lower than...อ่านเพิ่มเติม
UNIT 5 – Did You Hurt Yourself?
Reflexive pronouns

Pronouns คือ คำที่ใช้เพื่อทดแทนคำนาม หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “สรรพนามสำหรับ Reflexive pronouns (ริเฟล็กซิฟวฺ โพรนาวสฺ) หมายถึง สรรพนามที่สะท้อนกลับไปยังคำนามหรือสรรพนามที่ทำหน้าที่ประธานในประโยค ข้อสังเกตของสรรพนามประเภทนี้คือลงท้ายด้วย -self ถ้าเป็นเอกพจน์ หรือ -selves ถ้าเป็นพหูพจน์ ได้แก่
เอกพจน์                                     พหูพจน์
myself                                                   ourselves
yourself                                                yourselves
himself                                                  herself                                                 
themselves                                           itself
สรรพนามสะท้อนแต่ละคำดังกล่าวมานี้ มีข้อบ่งบอกการใช้ดังต่อไปนี้
1. myself ใช้เมื่อประธานของประโยคเป็น I
2. ourselves ใช้เมื่อประธานของประโยคเป็น we หรือเทียบเท่า we เช่น Johnny and I
3. yourself ใช้เมื่อประธานของประโยคเป็น you เมื่อหมายถึง you คนเดียว
4. yourselves ใช้เมื่อประธานของประโยคเป็น you เมื่อหมายถึง you หลายคน
5. himself ใช้เมื่อประธานของประโยคเป็น he หรือเทียบเท่า เช่น John
6. herself ใช้เมื่อประธานของประโยคเป็น she หรือเทียบเท่า เช่น Sue
7. itself ใช้เมื่อประธานของประโยคเป็น it หรือเทียบเท่า เช่น a dog
8. themselves ใช้เมื่อประธานของประโยคเป็น they หรือเทียบเท่า เช่น John and Sue
ตัวอย่าง
The clown is laughing at himself.
ตัวตลกในละครสัตว์หัวเราะตัวเขาเอง...อ่านเพิ่มเติม

 - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  

Because versus So

1. Because มีความหมาย เพราะว่า เป็นคำสันธานตัวหนึ่งใช้เชื่อมประโยคสองประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
Example:            He failed the exam because he was lazy.          
เขาสอบตก เพราะว่า เขาขี้เกียจ
                                She married him because she loves him.
                                She married him because she loved him                        
หล่อนแต่งงานกับเขา เพราะว่า หล่อนรักเขา
                *สังเกต หลัง because สามารถเป็นได้ทั้ง Present simple และ Past simple
                **สังเกตหน้า because จะเป็น Past simple เพราะแสดงถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้ว
2.So มีความหมายว่า ดังนั้น เป็นคำสันธานตัวหนึ่งใช้เชื่อมประโยคสองประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันเช่นเดียวกับ because และ เราสามารถใช้therefore แทน so ได้ และ หน้า therefore มักจะใช้ (,) comma เสมอ
Example:            He has a lot of money so he can buy anything.
                           He has a lot of money, therefore he can buy anything.                             
เขามีเงินมาก ดังนั้น เขาจึงสามารถซื้ออะไรๆ ก็ได้                                                           
3.สังเกต ประโยคหน้า because และ หลัง so จะเป็นประโยคผล และ หลังbecause กับหน้า so จะเป็นประโยคเหตุ...อ่านเพิ่มเติม